อินทราเน็ตIntranet
อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้นอินทราเน็ต
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บริษัทธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการโฆษณา การขายหรือเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในขณะที่องค์กรบางแห่งที่ไม่มุ่งเน้นการบริการข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างเครือข่าย ภายนอก แต่จัดสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและเปิดให้บริการในรูปแบบเดียวกับที่มีอยู่ในโลก ของอินเตอร์เน็ตจริง ๆ โดยมีเป้าหมายให้บริการแก่บุคลากร ในองค์กร จึงก่อให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร เรียกว่า "เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet)" เครือข่ายอินทราเน็ตนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี พ.ศ.2539 แต่แท้ที่จริงแล้วได้มีผู้ริเริ่มพูดถึงชื่อนี้ตั้งแต่ สี่ปีก่อนหน้าแล้ว หลังจากนั้นระบบอินทราเน็ตจึงได้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุคแรก ๆ ระบบนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) โลคัลอินเตอร์เน็ต (Local Internet) เอนเตอร์ไพรท์เน็ตเวิร์ก (Enterprise Network) เป็นต้น แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดคือชื่อ อินทราเน็ต ชื่อนี้จึงกลายเป็นชื่อยอดนิยมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งาน ส่วนใหญ่อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานเท่านั้น และนอกจากนี้ระบบ อินทราเน็ตยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กันได้ โดยทั่วไปอินทราเน็ตจะไม่เน้นการเชื่อมต่อไปสู่อินเตอร์เน็ตภายนอก เพื่อสืบค้นหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายนอก หากแต่มุ่งหวังที่จะจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศภายในองค์กร ด้วยการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ต และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงบุคลากรทุกหน่วยงาน ให้สามารถ เรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ รูปแบบสำคัญที่มีในอินทราเน็ต คือ การใช้ระบบเวบเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูล หรือกระดานข่าว เป็นต้น
อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารจากเดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่าย
ไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน ข้อมูลบุคลากร
มาจัดทำให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แทน ผู้ใช้สามารถเรียกค้น
ข้อมูลข่าวสารได้เมื่อต้องการ
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ช่วยให้การดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก
หากมีการวางแผนงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น
เครือข่ายอินทราเน็ตที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยติดต่อกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น
เรียกว่าเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)
เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตสามารถมองเป็นส่วนหนึ่งของ
เครือข่ายอินทราเน็ตที่สามารถติดต่อ ออกไปหน่วยงานต่าง ๆ นอกองค์กรได้
การที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกันแทนที่จะติดต่อกันโดยตรงระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตนั้นทำให้ประหยัด
ค่าใช้จ่าย
และสามารถใช้ข้อดีของบริการบนอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้มีประโยชน์สูงสุด 
ประโยชน์อินทราเน็ตประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน สามารถสรุปได้ดังนี้1. การสื่อสารเป็นแบบสากล ผู้ใช้ระบบอินทราเน็ตสามารถส่งข่าวสารในรูปของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสากลระหว่างผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานและผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งอยู่ภายนอกหน่วยงานได้2. อินทราเน็ตใช้มาตรฐานเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์ได้เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลาย และผ่านการยอมรับให้เป็นมาตรฐานตามความนิยมไปโดยปริยาย โดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้ได้หลากหลาย3. การลงทุนต่ำ ด้วยความต้องการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คล้ายคลึงกับที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมายและราคาต่ำ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการวางระบบเครือข่ายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนกับระบบอื่น ๆ4. ความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่ใช้นั้นได้ผ่านการทดลองใช้และปรับปรุง จนกระทั่งอยู่ในสถานภาพที่มีความเชื่อถือได้สูง5. สมรรถนะ สามารถสื่อสารข้อมูลรองรับการส่งข้อมูลที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพและเสียงได้ในปัจจุบัน บริษัทธุรกิจชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย สำหรับอินทราเน็ตในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น และการขยายแนวความคิดให้กับผู้บริหารองค์กร อีกทั้งองค์กรหลายแห่งยังคงไม่พร้อมทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากรที่จะเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง อินทราเน็ตจึงเป็นช่องทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในระยะแรก แต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล
ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง
อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน
แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ
จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก
ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ
สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟร์วอลล์สำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล
ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร
สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก
หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น
นอกเหนือจากนี้
ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้
อินทราเน็ต (Intranet)คืออะไร
อินทราเน็ต (Intranet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี(TCP/IP) ซึ่งเป็นระบบโปรโตคอลในการสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ดังนั้น โปรแกรมเพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตจึงเป็นซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโลก อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับเครือข่ายอินทราเน็ตมีเจ้าของแน่นอน และถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของอินทราเน็ตเกิดจากความคิดของระบบอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกันได้ รวมทั้งการที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ การมีบริการที่เป็นประโยชน์และความสามารถในการแสดงผลได้ตามต้องการแบบ 4ท (ที่เดียวทั่วโลก ทันที ทุกเวลา) นี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีของระบบดังกล่าวมาใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งเมื่อย่อระบบอินเตอร์เน็ตลงมาในองค์กรก็เป็นระบบอินทราเน็ตนั่นเอง ดังนั้นอินทราเน็ตต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตถือเป็นการปฎิรูประบบงานในองค์กรใหม่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันและอนาคต ในปัจจุบันได้มีผู้ให้คำจำกัดความของอินทราเน็ตไว้ต่าง ๆ ดังนี้
– อินทราเน็ตเป็นระบบเครือข่ายภายในที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน
– อินทราเน็ต เป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในองค์กร
– อินทราเน็ต เป็นคำที่สื่อความหมายถึงการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะ
– อินทราเน็ตเป็นระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานเฉพาะในองค์กร
– อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ ในองค์กรหรือหน่วยงาน
– อินทราเน็ต เป็นการรวมสารสนเทศที่มีอยู่ โดยวิธีการปรับปรุงให้เข้าถึงและกระจายข้อมูลผ่านไอพี เครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก ปรับปรุงวิธีการเข้าถึงสารสนเทศ การกระจายใช้สารสนเทศ และการบริหารสารสนเทศ
– อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ต ที่ได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐานในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน มาประยุกต์ใช้ในองค์กร หรือหน่วยงาน
จากนานาทัศนะดังกล่าวข้างต้น สามารถจำกัดความได้ว่าอินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายภายใน
ที่นำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานภายในองค์กร โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และนำมาใช้เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะและให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน อินทราเน็ตจึงถือว่าเป็น Corparate Portal หรือเว็บท่าองค์กร เป็นที่ที่ทุกคนต้องมาใช้เพื่อทำงานตามหน้าที่
e-company
อี-คอมพานี (e-company) หมายถึง องค์กรที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกรรมจากระบบเดิม ซึ่งใช้เอกสารในการประสานงานกัน มาเป็นระบบที่ใช้เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยประยุกต์เทคโนโลยีในปัจจุบัน ปรับให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร ซึ่งจะทำให้การประสานงานกันทั้งภายในองค์กรเองและต่างองค์กรมีความสะดวกรวดเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งและทำให้บริษัทเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้น
ปัจจุบันธุรกิจแบบเดิมที่เราคุ้นเคยกำลังหมดยุคไปทุกวันนี้การแข่งขันในตลาดโลกเริ่มรุนแรงขึ้น ไอที มีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นบุคลากรด้านไอทีที่มีความสามารถ รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีต่อกันระหว่าง ลูกค้าและซัพพลายเออร์ คุณภาพของการบริการจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีต่อการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ต่างจากในอดีตที่เป็นเพียงส่วนเสริมของการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เท่านั้น
อี-คอมพานี เป็นการรวมเอาการดำเนินธุรกิจขององค์กรกับเว็บเทคโนโลยีเพื่อสร้างจุดแข็งให้กับบริษัทฯ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และลดค่าใช้จ่ายในส่วนปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ กลางและเล็ก รวมไปถึงธุรกิจเน็ตเจเนอเรชัน อันหมายถึงบริษัทในโลกยุคใหม่ที่ไม่มีข้อจำกัดทางด้านขนาดของการลงทุนจำนวนพนักงาน หรือแม้แต่ช่องทางในการทำธุรกิจ ที่ทุกแห่งเริ่มต้นในจุดเดียวกันแต่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลกและไม่มีข้อจำกัดของระยะทางอีกต่อไป
การทำธุรกิจบนระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์กอย่างอีคอมเมิร์ซ และอี-บิซิเนส ที่เริ่มแพร่หลาย โดยเกิดจากกระแสการเจริญเติบโตของอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็ว อัตราความเจริญเติบโตของสังคมบนอินเทอร์เน็ตที่มีมากขึ้นอย่างทวีคูณ ทำให้ธุรกิจทุกประเภทต้องแสวงหาแนวทางการทำธุรกิจใหม่ หรือไม่ก็ต้องหาทางผนวกธุรกิจที่มีอยู่เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ โดยนอกจากต้องปรับปรุงระบบธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิผลสูงขึ้นก็ยังต้องพัมนาระบบไอทีในองค์กรควบคู่กันไปด้วย
ดังนั้น อี-คอมพานีต้องมีอินทราเน็ต ที่นำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานภายในองค์กร โดยปรับให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กรด้วยซอฟต์แวร์
Corporate Portal
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่าย จะต้องมีซอฟต์แวร์มาจัดระบบ ซอฟต์แวร์ที่ว่านี้จะทำให้เกิดเว็บท่าองค์กร Corparate Portal ซึ่งเป็นจุดที่ทุกคนในองค์กรจะต้องมาพบ มาใช้เพื่อการทำงาน การสื่อสาร การเรียนรู้ และการสันทนาการประเภทหลัก ๆ ของแอปบลิเคชั่นที่ประกอบเป็นเว็บท่าบริษัทมีทั้งส่วนทั่วไป และส่วนเฉพาะกิจกับองค์กรนั้น ซอฟต์แวร์เว็บท่าองค์กรจึงพอสรุปเป็นประเภท ดังนี้
Document Access
– Product Information– Search Engine
– Policies and Procedures
– Phone Directory
– Newsletters
– Project information
– Official Travel Guide
– Employee Infobases
– Catalogs
– Newswire Clippings
– Software Libraries
– Art Libraries
Application Gateways
– Access to Legacy Systems (HR,Accounting)
– Access to Data Warehouse
– Access to Design Manaagement
– Product Support Databases
– Customer support
– Sales & Marketing Support Centers
– Training and Registration
– Subscription Services
Group Wares
– Conferencing
– Calendar Management
– Electronic meeting
– Workflow Management
– Voice Video Conferencing
– Whiteboard
– Document Sharing
– Chat
Knoledge Application
– Knowledge Management
– Information Mapping
– Decision
– Support
– Knowledge Filtering
– Knowledge Preservation
– e-Learning
– Experience Factory
การกระจาย Informantion
การที่จะทำให้ข้อมูลขององค์กรหาง่ายใช้งานได้สะดวกเป็นวัตถุประสงค์หลักของอินทราเน็ต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องควบคุมเนื้อหาของสารสนเทศในองค์กรให้เหมาะสม ซึ่งรูปแบบการใช้สารสนเทศแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ สารสนเทศทางการ สารสนเทศกลุ่ม สารสนเทศไม่เป็นทางการ
– สารสนเทศทางการ ได้แก่ สารสนเทศที่เกี่ยวกับกฎระเบียบบริษัทฯ ที่ใช้ในองค์กรประวัติ
ผลงานล่าสุด รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การบริการต่าง ๆ เป็นต้น
– สารสนเทศกลุ่ม ได้แก่ สารสนเทศที่ใช้ภายในกลุ่ม/แผนก, กลุ่มงานโครงการ เป็นเครื่อง
มือในการติดต่อประสานงานกัน การกระจายความคิด ร่วมมือกันในการทำกิจกรรมหรือการจัดการงานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบเดิมที่ต้องการส่งเอกสาร ถึงกันไม่ว่าจะเป็นการถ่ายเอกสารหรือ FAX ให้กันเป็นต้น
– สารสนเทศที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ สารสนเทศที่ใช้ในการบริหารงาน การปฏิบัติงานและ
การใช้สารสนเทศในการพัฒนาเสริมสร้างความรู้ ทักษะในแขนงวิชาต่าง ๆ ให้บังเกิดผลสำเร็จ สามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนการทำงานในแต่ละฝ่ายงานต่าง ๆ การที่เราจะมี Information ที่ดีมีประโยชน์นั้นจะมีส่วนในการประสานงานกับงานด้านการเก็บข้อมูลทุกชนิด ทุกประเภท เก็บข้อมูลอย่างมีระเบียบ แบบแผน ซึ่งจะทำให้ได้สารสนเทศนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง Work Process เพื่อลดขั้นตอนงานที่ไม่จำเป็น และให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน จำเป็นต้องปรับปรุงองค์กรและคนในองค์กรด้วย
ประโยชน์
ประโยชน์ และเป้าหมายของระบบเว็บท่าองค์กรทั้งต่อภายในองค์กร และนอกองค์กรมีมากมายสามารถแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1. เพื่อสร้างลูกค้า เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทำการตลาดอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ลูกค้าทำงานได้ง่ายขึ้น และสุดท้ายเกิดกำไรกับบริษัทฯ โดยใช้ต้นทุนต่ำ
2. กระจายสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในพื้นที่ที่กว้างมากเท่าที่ต้องการ เช่น
บริษัทฯ อีซูซุ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และมีสาขามากมายในประเทศต่าง ๆ สามารถทำให้มี สารสนเทศเดียวกัน ใช้ร่วมกัน และยังสามารถตัดขั้นตอนงานที่ซ้ำซ้อนลงได้ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การเชื่อมต่อระบบกับธุรกิจอื่น และสามารถสร้างรายได้ในช่องทางใหม่ อีกทั้งยังช่วยผลักดันและเป็นหนทางให้บริษัทเติบโตหรือขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
4. ช่วยให้การประสานงานดีขึ้น การจัดทำ Web จำนวนมากนอกจากช่วยการประสานงานภายในแล้ว หุ้นส่วนอื่น ๆ ก็ได้รับประโยชน์ด้วย ช่วยให้มีการกระจายข่าวสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วขึ้น
5. ช่วยในเรื่องการจัดองค์ความรู้ เริ่มตั้งแต่หน่วยงานย่อย ๆ รวมกันเป็นรูปบริษัทฯ บริษัทในเครือหุ้นส่วนสารสนเทศกระจายถึงกัน ส่งผลให้เกิดเป็นการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เกิดเป็นสังคมข้อมูลข่าวสารที่กว้างสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
6. เป็นช่องทางหาธุรกิจใหม่
อุปสรรคของการทำอินทราเน็ตและเว็บท่าบริษัท
บริษัทฯ หรือองค์กรหลาย ๆ องค์กร ที่นำอินทราเน็ตมาใช้ บางบริษัทก็ประสบความสำเร็จ บางบริษัทก็ประสบกับความล้มเหลว ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
– ผู้บริหารไม่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังผู้บริหารไม่ปรับตัว ทำให้พนักงานไม่กระตือรือร้นในการใช้ระบบ
– ข้อมูลที่อยู่บนระบบไม่ทันสมัย ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ
– ปัญหาเครื่องทำงานช้า ผู้ใช้เสียเวลารอข้อมูลนาน
– ข้อมูลไม่น่าสนใจ ใช้ยาก ไม่มีเครื่องช่วยให้เข้าหา Information
ดังนั้นการที่จะให้ ระบบอินทราเน็ตที่พัฒนาขึ้น ประสบผลสำเร็จได้ ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญด้วย โดยถือเป็นนโยบายหลัก โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น จัดทำ ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือกันด้วยความเต็มใจ สะท้อนให้เกิดความร่วมมือกันด้วยความเต็มใจ สะท้อนให้เกิดประโยชน์กับบริษัทฯ ในภาพรวม โดยได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากผู้บริหาร
ความหมายของอินทราเน็ต
คำจำกัดความของอินทราเน็ตนั้นสามารถกล่าวให้เข้าใจได้ง่าย ๆ คือ
การที่องค์กรหนึ่งนำวิธีการใช้งานและใช้ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต
มาใช้ภายในองค์กร โดยจำกัดขอบเขตการใช้งานส่วนใหญ่
อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของตนเท่านั้นประวัติของอินทราเน็ต เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี พ.ศ. 2539 (1996) และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ดูเหมือนกับว่าการพัฒนามุ่งไปสู่การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเพียงด้านเดียว ซึ่งในระยะเริ่มแรกมีระบบเครือข่ายที่มีชื่อเรียกอยู่หลายระบบ เช่น แคมปัสเน็ตเวอร์ท, โลเคอร์อินเตอร์เน็ต, เอ็นเตอร์ไพร์ทเน็ตเวอร์ท เป็นต้น แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดคือชื่อ อินทราเน็ต และชื่อนี้ได้กลายเป็นชื่อยอดนิยมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะองค์กรต่าง ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นอนาคตและประโยชน์ของระบบนี้ จึงได้เริ่มพัฒนาและนำระบบอินทราเน็ตเข้ามาใช้ในองค์กร ตัวอย่างเช่นบริษัท Tower Records ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายซีดีเพลงในสหรัฐอเมริกา โดยที่บริษัทมีความต้องการกระจายข้อมูลจำนวนมากไปยังพนักงาน และส่วนการทำงานต่าง ๆ เช่น รายชื่อเพลงใหม่ของบริษัท, กำหนดการแสดงต่างๆ รวมทั้งราคาขายสินค้า บริษัทจึงใช้อินทราเน็ตในการกระจายข้อมูล ทดแทนระบบเดิมซึ่งใช้โปรแกรม GroupWare เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทต่าง ๆ ใช้ระบบอินทราเน็ตเพื่อส่งข่าวสารการออกแบบ, ข่าวสารและงานประชาสัมพันธ์ของบริษัท ทำให้องค์กรสามารถลดปริมาณการใช้กระดาษลงได้เป็นอย่างมาก โดยมีการอ้างอิงตัวเลขว่าในปี พ.ศ. 2538 (1995) มี อินเตอร์เน็ต Web Site ทั่วโลกถึงสามหมื่นแห่ง แต่มี Web Site ของอินทราเน็ต มากกว่าถึง 4 เท่าหรือ 120,000 แห่ง ซึ่งทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่า อินทราเน็ต แพร่หลายมากเพียงใด
ระบบอินทราเน็ต ( Intranet)
ด้วยความสามารถและการพัฒนาการอย่างรวดเร็วของระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) ทำให้ปัจจุบันมีผู้นิยมหันมาออกแบบและจัดทำโปรแกรมเพื่อการใช้งานในระบบธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ โดยข้อดีของการพัฒนาเหล่านี้คือ ระบบต่าง ๆ สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในการที่ต้องจัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ซึ่งมีราคาสูง อีกทั้งการออกแบบระบบดังกล่าวจะเป็นการออกแบบประยุกต์ให้โปรแกรมสามารถรองรับระบบการทำงานปัจจุบัน ซึ่งจะแตกต่างจากระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่จะต้องปรับบุคคลากรเข้าหาโปรแกรมตัวอย่างระบบเครื่องมือของระบบอินทราเน็ต (Intranet) สำหรับองค์กร ต่างๆโดยทั่วไป
☻ระบบการอนุมัติการทำงาน ระบบการอนุมัติใบลา ขาด มาทำงานสาย ของพนักงานพร้อมทั้งรูปแบบการแสดงผลรายงาน ประจำวัน เดือน ปีให้ท่านทราบ รวมถึงระบบรายงานการประเมินผลของพนักงาน
☻ระบบบริหารงานสั่งซื้อ การเปรียบเทียบข้อมูลของสินค้า ราคา และคู่ค้าก่อนการสั่งซื้อ
☻ระบบบริหารงานการใช้ห้องประชุม โปรแกรมจองห้องประชุม การใช้อุปกรณ์ห้องสัมมนา
☻ระบบปฏิทินกิจกรรมรวมของบริษัท หรือแยกระบบปฏิทินกิจกรรมของแต่ละแผนก หรือฝ่ายตามต้องการ
☻ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานในระบบ การสร้างระบบปฏิทินส่วนตัว ระบบการเตือนงาน การจ่ายงานไปยังบุคคลหรือแผนกที่เกี่ยวข้อง หรือจากหัวหน้างานสู่พนักงานในแผนกหรือฝ่าย
☻ระบบบริการเอกสารส่วนกลาง ซึ่งจะรองรับการเข้ามาขอใช้บริการของพนักงานแต่ละคน แต่ละแผนก
☻การให้บริการด้านข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ผ่านทางระบบ Intranet การออกแบบระบบจดหมายเวียน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้ทราบโดยทั่วถึงกันทั้งบริษัท หรือเฉพาะกลุ่มหรือฝ่ายที่ต้องการ
☻ความสามารถในการปรับเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้เอง การกำหนดกิจกรรม การวางแผนงานส่วนตัว ระบบการบันทึกกิจกรรม ระบบการฝากข้อความแบบสั้น หรือรายละเอียดงานต่างๆ สมุดรายนาม โทรศัพท์ หรือระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลของลูกค้า ความสามารถในการนำข้อมูลลูกค้าออกไปใช้งานในด้านต่างๆ เช่น Fax Blast, Mail Blast, Mailing List
☻ระบบห้องสนทนา (Chat Room) หรือ WEB Board สำหรับการพูดคุยตอบโต้ สนทนา สอบถามปัญหาต่าง ๆ
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ต ( Applications of Intranet)
บริษัทต่างๆใช้เทคโนโลยีอินทราเน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล, เก็บประวัติส่วนตัวของลูกค้า และเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงสามารถจำแนกการประยุกต์ใช้อินทราเน็ตออกเป็น1. เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการสื่อสารและความร่วมมือภายในองค์กร โดยการส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์เสียง โทรศัพท์ติดตามตัว และโทรสาร เพื่อติดต่อกับบุคคลอื่นภายในองค์กรและภายนอกผ่านอินเทอร์เน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต นอกจากนี้ยังสามารถใช้คุณสมบัติของกรุ๊ปแวร์อินทราเน็ตในการปรับปรุงความร่วมมือของทีมและโครงการ เช่น กลุ่มหรือชุมชนสนทนา ห้องพูดคุย และการประชุมทางวีดีทัศน์และเสียง เป็นต้น
2. ใช้ในการดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการ (Business Operations and Management) ซึ่งอินทราเน็ตถูกใช้เป็นฐานงาน (Platform) สำหรับการพัฒนา และนำมาใช้กับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและการตัดสินใจด้านการจัดการระหว่างองค์กร เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง การจัดการการขาย และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ซึ่งสามารถนำมาใช้บนอินทราเน็ต
จากกรณีศึกษาของบริษัท Sun Microsystems ผู้เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการใช้อินทราเน็ตในปี 1994 มีโฮมเพจและโปรแกรมประยุกต์หลายๆโปรแกรมบนเว็บไซท์ SunWeb ซึ่งเป็นเว็บไซท์ขนาดมหึมาด้วยจำนวนแม่ข่ายเว็บอินทราเน็ตมากกว่า 3,000 แม่ข่ายสำหรับพนักงาน 20,000 คน ทำหน้าที่ในการสนับสนุนลูกค้าที่สถานีปลายทางและแม่ข่ายกว่า 100 ประเทศ SunWeb ช่วยประหยัดต้นทุนเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับการจัดพิมพ์สารสนเทศบนกระดาษและสื่ออื่นๆ ความง่ายและความเร็วในการแบ่งปันสารสนเทศสื่อประสมบนแม่ข่ายเว็บ ทำให้ได้ผลิตผลมากขึ้นและมีความสร้างสรรค์ในงานและโครงการของเขาเหล่านั้น จากอินทราเน็ตของ Sunทำให้เกิดความคิดในการประยุกต์โปรแกรมให้พนักงานสามารถนำมาใช้บนอินทราเน็ต ดังนี้
1. การเรียกดูได้ 3 ระดับ คือ การเรียกดูระดับองค์กร (Organizational View) การเรียกดูตามหน้าที่ (Functional View) ของบริษัท ( องค์กร ฝ่ายบุคคล ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด เป็นต้น) และการเรียกดูตามภูมิศาสตร์ (Geographical View)
2. การดูสิ่งใหม่ ๆ เพื่อแจ้งข้อมูลการแถลงข่าวที่เกิดขึ้นของบริษัท รายงานทางเสียงออนไลน์ และอื่นๆ
3. เพื่อส่งเสริมการตลาดและการขาย ซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลการตลาดและการขาย สารสนเทศเทียบเคียง เครื่องมือด้านการตลาด สารสนเทศองค์กร และสารสนเทศเบื้องต้นเพื่อช่วยงานพนักงานขายและพนักงานตลาด
4. เป็นสารบัญแฟ้มผลิตภัณฑ์ (Product Catalog) ประกอบด้วยสารสนเทศสื่อประสมของผลิตภัณฑ์ Sun สำหรับการอ้างอิงทั่วไป เพื่อประหยัดต้นทุนงานสิ่งพิมพ์
5. เป็นสารสนเทศทางวิศวกรรม ข้อมูลการเชื่อมไปยังเครื่องมือซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่เรียกใช้ได้บนเครื่องแม่ข่ายท้องถิ่นของแต่ละคน ด้วยเอกสารแบบออนไลน์ สำหรับข้อมูลการฝึกอบรม วิธีที่ได้รับบริการ และวิธีการได้รับลิขสิทธิ์
6. เพื่อเป็นข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์และสิทธิประโยชน์ โดยรวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงาน คู่มือผู้จัดการ ชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาและข้อมูลการว่าจ้างแรงงานขององค์กร
7. เป็นห้องสมุดและการศึกษา โดยสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมภายในและภายนอกของบริษัท ซึ่งเชื่อมกับห้องสมุดของบริษัทเพื่อเข้าถึงการบริการงานวิจัยและทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดต้นทุนการอบรมและพัฒนา
8. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเดินทาง โดยอธิบายถึงวิธีการเตรียมการอนุมัติค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จัดหาคำแนะนำการเดินทางไปยังต่างประเทศ เชื่อมกับโฮมเพจของความปลอดภัยระหว่างประเทศ แสดงอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา และสารสนเทศเกี่ยวกับระบบการขนส่ง
เชื่อมโยงความรู้ความร่วมมือด้วยอินทราเน็ต
ปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร เป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจทุกประเภท มีผู้กล่าวว่าผู้ครอบครองข้อมูลที่ดีกว่า จะเป็นผู้ได้เปรียบในการแข่งขันและจะเป็นผู้ชนะในการต่อสู้ในที่สุด ดังนั้นจึงมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการนำข้อมูลมาประมวลผล, วิเคราะห์ และจัดการให้เป็นประโยชน์ในการใช้งาน โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานด้าน การเก็บข้อมูลและประมวลผล โดยเฉพาะองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ย่อมมีขัอมูลจำนวนมากมาย ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและโปรแกรมที่ใช้เก็บข้อมูลมักมีความหลากหลาย ทำให้ผู้ใช้งานต้องเกิดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างมาก ดังนั้นเทคโนโลยีในสมัยใหม่ จึงมีแนวโน้มจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารภายใน เพื่อให้เกิดการรับรู้ทั่วทั้งองค์กร จึงได้มีความพยายามพัฒนาเทคโนโลยีด้านอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ในองค์กรมากขึ้น
ข้อดีของระบบอินทราเน็ต ( Intranet)
ระบบอินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้โดยแพร่หลายในองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน มีข้อดีดังนี้☺ช่วยลดขั้นตอนในการทำงานของพนักงาน และลดเรื่องเอกสารต่าง ๆ ในการทำงาน สามารถควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำงานได้ตรงตามความต้องการ
☺ช่วยให้ควบคุมและบริหารงานของแต่ละหน่วยงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงทราบความเคลื่อนไหวทั้งหมดในการทำงานของบริษัท หรือแผนกนั้นๆ
☺ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพ และคุณภาพของการทำงาน และการปฏิบัติงานในแต่ละแผนก หรือแต่ละหน่วยงาน แต่ละเครื่อง แต่ละคนได้ตามต้องการ
☺บุคลากรในบริษัท สามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่ายเนื่องจากการออกแบบระบบ Intranet จะเป็นการออกแบบโปรแกรมให้รองรับการทำงานของผู้ใช้ ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากโปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไปที่จะต้องทำการปรับพนักงานให้เข้าไปเรียนรู้โปรแกรมดังกล่าว
☺ผู้บริหารสามารถเข้าทำการตรวจสอบและดูรายงานต่างๆ ได้ตามต้องการ โดยผ่านทาง web browser ได้ทุกที่ ทุกเวลา
☺ลดค่าใช้จ่ายในการที่ต้องจัดซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ตามจำนวนผู้ใช้งานจริง
อ้างอิง https://sites.google.com/site/abcgraphic1/xinthranetintranet
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95
https://tuinuii.wordpress.com/2009/11/06/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95-intranet%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
https://www.gotoknow.org/posts/456069
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95
https://tuinuii.wordpress.com/2009/11/06/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95-intranet%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
https://www.gotoknow.org/posts/456069